HeaderAd

Wednesday, October 15, 2014

หนังสือเล่มเดิม กับวันเวลาที่เปลี่ยนไป

Share it Please
A book is a dream that you hold in your hand.
–Neil Gaiman


ช่วงนี้ผมมีเวลาที่จะกลับมาหยิบหนังสือเล่มเก่า กลับขึ้นมาอ่านกันอีกรอบ ตอนแรกก็คิดก่อนเลยว่า "จะสนุกเหมือนเดิมไหมน่า?" แต่ผลปรากฏว่า อ่านหนังสือสนุกมากกว่าเดิมครับ!?!? ผมก็แปลกใจเหมือนกัน เพราะว่าลองกลับมาหยิบขึ้นมาอ่านอีก สองถึงสามเล่ม ก็ยังรู้สึกสนุกกว่าเดิม อาจจะเป็นเพราะ เราอ่านหนังสือครับ เราไม่ได้ดูหนัง หรือผมอาจจะอ่านมาเยอะจน เริ่มจำรายละเอียดไม่ได้ ทำให้เวลากลับมาอ่านหนังสือดีๆเก่าๆ บางเล่ม รู้สึกว่าประทับใจคนเขียนมากเลย อย่างเช่น หนังสือเล่มล่าสุดที่ผมเพิ่งกลับมาอ่านและเขียนไปคือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก ทั้งๆที่หนังสือเล่มนี้เก่ามากแล้ว แต่เนื้อหายังคงร่วมสมัยอยู่ หลักการต่างๆยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่ ตัวอย่างหรือปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาเล่าให้ฟัง ก็รู้สึกว่า ปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นเลยว่า หนังสือดีๆแม้จะเก่า แต่เนื้อหาไม่ได้เก่าไปตามกาลเวลา แต่เวลากลับจะมาเป็นตัวพิสูจน์คุณค่าและความดีงามของหนังสือ จนต้องกลับมานั่งคิดอีกหลายๆครั้งว่า

"ทำไมเราไม่อ่านหนังสือให้เยอะกว่านี้นะ" 

ปัญหาหลายๆอย่างเขาก็เจอกันมาหมดแล้ว เรียนรู้วิธีที่ปฏิบัติกับปัญหาเหล่านั้น จนเขียนเป็นหนังสือได้เลย วันนี้ผมก็เลยมาเล่า มาเขียนให้ใครก็ตามที่แวะเข้าได้รู้ว่า "พอผมเริ่มมีอายุมากขึ้น แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองรู้น้อยลง จนอยากจะเรียนรู้ และอ่านหนังสือให้มากกว่าเดิม อยากลองทำอะไรใหม่ๆมากเดิม" อ้าว เด็กๆน้องๆ คนไหนยังเล่นเกมส์กันเยอะอยู่ ก็ลองแบ่งเวลาสัก 1 -2 ชั่วโมงมาอ่านหนังสือดีๆกันดูนะครับ ผมอยากเห็นคนไทยอ่านหนังสือดีๆ กันเยอะๆครับ


สรุปสิ่งที่ยังคงคิดหลังจากที่อ่าน หนังสือคิดใหญ่ไม่คิดเล็ก
ในช่วงท้ายบทความ ผมอยากเขียนสรุปในบางสิ่งที่ยังคงคิดถึงหลังอ่านจบอีกรอบนะครับ คือ ในตัวอย่างที่หนังสือคิดใหญ่ไม่คิดเล็ก ได้หยิบยกขึ้นมา มันยังโดนใจและฝั่งใจอยู่ ผมเลยอยากจะใช้เนื้อที่ตรงนี้ในการเล่าสู่กันฟังนะครับ ในหนังสือจะมีบทหนึ่งที่จะพูดถึงการคิดอย่างถูกต้องต่อคนอื่น แล้วได้ใช้เหตุการณ์จริงๆที่ผู้เขียนเจอ คือ

ในระหว่างที่ผู้เขียน(David J.Schwartz) ได้นั่งรถเพื่อนของเขา และได้สังเกตเห็นว่าเพื่อนเขาหยุดรถเพื่อให้รถคันอื่นที่จอดอยู่ริมถนนออก หรือให้รถที่กำลังจะออกจากซอยได้ขับออกมาหลายครั้ง จนกระทั่งผู้เขียนก็ได้จิกกัดเล็กๆน้อยๆกับเพื่อนว่า "โอ้ นี้นายอยู่ชมรมคนใจดีเหรอเนี่ย!!!" เพราะผู้เขียนไม่เคยเห็นคนขับรถคนไหน แสดงความใจดีขนาดนี้มาก่อน แล้วเพื่อนของเขาก็ตอบว่า

"การที่ต้องช่วยคนขับ 3 คนให้ออกมาจากซอยหรือริมถนนนั้น อาจจะทำให้เขาเสียเวลาเพิ่มขึ้นอีก 45 วินาที และพวกเขาเหล่านั้นก็อาจจะไม่ได้ทำดีกับเขาเป็นการตอบแทน แต่สิ่งที่เขาได้รับตอบแทนทันทีเลย คือ การแสดงความเอื้อเพื้อต่อผู้อื่นนั้น ช่วยทำให้ฉันใจเย็นขึ้น"


โอ้ หนังสือเล่มนี้เขียนตั้งแต่ปี 1959 จริงเหรอเนี่ย!?!? ทำไมรู้สึกว่าตัวอย่างมันยังโดนใจขนาดนี้!!! พอมานั่งคิดดู ผมเองก็เคยมองหาวิธีที่จะทำให้ใจเย็นเพิ่มขึ้นเหมือนกัน แต่ก็ลืมไปเลยว่า การทำอะไรง่ายๆอย่างให้รถคนอื่นได้ออกจากซอยบ้าง แทนที่ผมจะตบไฟหน้า แถมต่อท้ายด้วยการกระทบคันเร่งส่ง ฮ่าๆๆๆๆๆ นี้ยังไม่รวมไปถึงการบีบแตรด้วยนะ ฮ่าๆๆๆๆๆ จริงๆ เมื่อวานก็ไปลองทำดูนะ ก็รู้สึกว่าใจเย็นขึ้นนิดนึง แต่ก็กลัวๆว่ารถคันหลังจะกดแตรด่านะจิ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

ในบทเรื่องการคิดอย่างถูกต้องต่อคนอื่นนั้น ยังมีอีกตัวอย่างที่กระแทกโดนใจ นั่นคือ ผู้เขียนได้หยิบยกคำสัมภาษณ์ของคุณเบนจามิน แฟร์เลส คนที่มีชื่อเสียงมากๆ ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าช่วงยุค 1950 อย่าลืมนะครับ ว่าหนังสือเล่มนี้เขียนตั้งแต่ปี 1959

"ผมก็เคยรู้สึกผิดหวังบ้าง หลายครั้งที่ผมไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งแต่คนอื่นกลับได้ไป ที่สำคัญคือผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อของ การเมืองในที่ทำงาน หรือความลำเอียง"เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่เขาคิด สิ่งที่คุณต้องทำมีแค่ 2 อย่างเท่านั้น

  1. ถามตัวเองว่าจะทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะได้รับเลือกในการเลื่อนตำแหน่งครั้งถัดไป
  2. อย่าไปเสียเวลาและพลังงานกับความผิดหวัง อย่าด่าตัวเอง วางแผนที่จะเอาชนะครั้งต่อไป
"วิธีการที่คุณคิดเมื่อพ่ายแพ้ จะเป็นตัวกำหนดว่าอีกนานเท่าไรคุณถึงจะชนะ"



ขอบคุณที่อ่านจนจบ สำหรับสรุปทุกบทของหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก ดูได้ที่นี้คับ


**รูปภาพจาก Wikipedia ครับ**

No comments:

Post a Comment

Followers

Tags